ชื่อเรื่อง : ประชาสัมพันธ์ ระวัง!! 6 โรคที่มาพร้อมน้ำฝน
รายละเอียด : 6 โรคที่มาพร้อมหน้าฝน
เข้าสู่ฤดูฝนก็เป็นอีกหนึ่งฤดูที่เต็มไปด้วยโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่มาพร้อมกับสภาพอากาศและความชื้นที่เปลี่ยนไป นำมาซึ่งเชื้อไวรัสและแบคทีเรียบางชนิดที่ทำให้เกิดโรค ซึ่งทุกคนควรระมัดระวังและดูแลสุขภาพของตัวเองให้ห่างจากโรคดังกล่าว สำหรับโรคที่มักมากับหน้าฝน วันนี้เราก็ได้รวบรวมมาให้แล้วเช่นกัน
โรคตาแดง
สาเหตุ :
โรคตาแดงเกิดจากการติดเชื้ออะดีโนไวรัสที่อยู่ในน้ำสกปรกที่กระเด็นเข้าตา หรือมีการใช้มือที่ไม่สะอาดไปขยี้ตา รวมถึงการใช้ของร่วมกับผู้ติดเชื้อก็มีโอกาสติดเชื้อโรคตาแดงได้เช่นกัน
อาการ :
ตาขาวมีสีแดงเรื่อๆ ระคายเคือง แสบตา น้ำตาไหล มีขี้ตามากกว่าปกติ
วิธีป้องกัน :
-หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วย งดใช้ของร่วมกับผู้ป่วย เช่น ผ้าเช็ดหน้าผ้าเช็ดตัว
-หลีกเลี่ยงฝุ่นละออง หรือน้ำสกปรกเข้าตา รวมไปถึงหลีกเลี่ยงการว่ายน้ำในระยะนี้
-รักษาความสะอาด ล้างมือให้สะอาด เลี่ยงการเอามือไปสัมผัสดวงตาบ่อยๆ
-ไม่อยู่ในพื้นที่แออัด เช่น รถสาธารณะ BTS MRT เป็นต้น หากจำเป็น ต้องสวมแว่นกันแดด กันฝุ่น กันลมช่วย
-ระวังไม่ให้แมลง หรือสิ่งแปลกปลอมใดๆ เข้าตา
โรคระบบทางเดินหายใจ
สาเหตุ :
ในช่วงฤดูฝนที่มีฝนตกบ่อย ปริมาณความชื้นในอากาศก็จะเพิ่มขึ้น แต่บางวันอากาศกลับร้อนกว่าปกติ ส่งผลให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน นอกจากนี้ ในหน้าฝนมักมีการระบาดของเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคทางระบบหายใจหลายชนิด ทำให้เด็กๆ รวมถึงคุณพ่อ คุณแม่ ติดโรคที่เกี่ยวกับระบบหายใจมากขึ้น โดยโรคระบบทางเดินหายใจในเด็กที่พบบ่อย สามารถจำแนกแบบง่ายๆ เป็นโรคระบบทางเดินหายใจส่วนบน และระบบทางเดินหายใจส่วนล่า
อาการ :
มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ คัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ
วิธีป้องกัน :
-ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ
-รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่
-ดื่มน้ำสะอาดวันละ 8-10 แก้ว
-หลีกเลี่ยงการตากฝนโดยไม่จำเป็น
-ที่สำคัญควรสวมหน้ากากอนามัย และเว้นระยะห่าง 1-2 เมตร
โรคไข้หวัด
สาเหตุ :
โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคสุดฮิตในหน้าฝน โดยเฉพาะกับเด็กๆ ที่ภูมิคุ้มกันยังไม่ดี โรคไข้หวัดใหญ่นี้เกิดจากการติดเชื้ออินฟลูเอนซาไวรัส ทำให้มีไข้สูง ปวดหัว ปวดเมื่อยเนื้อตัว ไอหรือเจ็บคอ เด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ขวบ ที่ระบบภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรงอาจเกิดโรคแทรกซ้อนและอันตรายถึงชีวิต การได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ปีละครั้งจึงเป็นสิ่งจำเป็น
อาการ :
มีอาการไข้สูง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และมักมีน้ำมูกและไอร่วมด้วย ภาวะแทรกซ้อนซึ่งมักพบในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงคือ ภาวะปอดอักเสบ
วิธีป้องกัน :
-หลีกเลี่ยงโรคนี้ได้ด้วยการไม่เข้าใกล้ผู้ป่วย
-ระวังเรื่องการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วย
-หมั่นดูแลความสะอาดของร่างกายทั้งการล้างมือเป็นประจำหลังสัมผัสสิ่งของ หรือก่อน-หลังการรับประทานอาหาร
-ทานอาหารที่มีประโยชน์
-หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ
- หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น
-สวมใส่หน้ากากอนามัย
โรคไข้เลือดออก
สาเหตุ :
ไข้เลือดออกมียุงลายเป็นพาหะ ที่มักแพร่พันธุ์ได้ดีในหน้าฝน หากใครมีไข้สูง ปวดเมื่อยเนื้อตัว มีอาการซึม ให้รีบไปพบแพทย์ ยิ่งหากโดนยุงกัดมาอาจสันนิษฐานไว้ก่อนว่ากำลังป่วยเป็นไข้เลือดออก จะได้ทำการตรวจอย่างถี่ถ้วน
อาการ : มีอาการไข้สูงลอยนาน 3-7 วัน หน้าแดง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ตับโตและกดเจ็บ พบเลือดออกที่ผิวหนังและใน กระเพาะอาหารได้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีการรั่วของน้ำออกจากเส้นเลือด ทำให้มีภาวะเลือดข้น และเกิดอาการช็อกได้
วิธีป้องกัน :
-ป้องกันยุงลายกัด ยุงลายมักจะกัดคนในเวลากลางวัน ควรนอนในมุ้งหรือติดมุ้งลวดเพื่อป้องกันยุงเข้ามาในบ้าน หลีกเลี่ยงการอยู่บริเวณมุมอับชื้น ทายากันยุงที่สกัดจากพืชธรรมชาติ
-กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้หมดไป ยุงลายจะเพาะพันธุ์ในน้ำใส ในภาชนะที่เก็บน้ำใช้ในบ้าน เช่น โอ่งน้ำ ถ้วยรองขาตู้กันมด แจกันดอกไม้ ภาชนะนอกบ้านที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายกระทำได้โดย
อาหารเป็นพิษ
สาเหตุ :
ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่เรารับประทานหรือน้ำที่เราดื่ม อาจมีเชื้ออีโคไลปนเปื้อนอยู่ หากมีการใช้มือที่ไม่สะอาดหยิบจับอาหารเข้าปาก ก็อาจทำให้เกิดลำไส้อักเสบติดเชื้อ และท้องเสียได้ ดังนั้นก่อนกินและก่อนดื่มควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
อาการ :
มีอากาศท้องเสีย ถ่ายเป็นน้ำ มีไข้และอ่อนเพลีย
วิธีป้องกัน :
-ดื่มน้ำสะอาด
-รับประทานอาหารที่สะอาดและปรุงสุก
-ล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร
-หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ค้างคืน
-เก็บอาหารให้ปลอดภัยจากแมลง หนู และสัตว์อื่นๆ
-แยกอาหารดิบและสุกออกจากกัน ป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรค
-ล้างมือให้สะอาดก่อนทำอาหาร หรือขนมทุกครั้ง
-ใช้ช้อนกลาง
โรคฉี่หนู
สาเหตุ :
โรคฉี่หนูมักแพร่ระบาดในพื้นที่ที่มีน้ำขัง ซึ่งเราจะได้รับเชื้อจากฉี่หนูที่ขังในน้ำผ่านทางผิวหนังที่มีแผล ผู้ป่วยโรคฉี่หนูมักมีไข้สูง เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามตัว โดยเฉพาะน่อง หลัง และต้นคอ หากมีอาการดังกล่าวและเคยไปย่ำน้ำขังมา ควรรีบพบแพทย์และแจ้งแพทย์ด้วย
อาการ :
มีอากาศไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหรือข้อต่อรุนแรง หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ตาแดง ระคายเคืองตา ตัวเหลือง ตาเหลือง
วิธีป้องกัน :
-กำจัดหนู
-ควรสวมชุดป้องกัน เช่น รองเท้าบู๊ต ถุงมือ ถุงเท้า เสื้อผ้า
-หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ที่เป็นพาหะ ของโรคดังกล่าว
-หลีกเลียงการว่ายน้ำที่อาจจะมีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่
-หลีกเลี่ยงไม่ไปสัมผัสปัสสาวะโค กระบือ หนู สุกร และไม่ใช้แหล่งน้ำที่สงสัยว่าอาจปนเปื้อนเชื้อ หลีกเลี่ยงอาหารที่ปล่อยค้างคืน โดยไม่มีภาชนะปกปิด เป็นต้น
-หลีกเลี่ยงการทำงานในน้ำหรือต้องลุยน้ำ ลุยโคลนเป็นเวลานานๆ
-รีบอาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกายโดยเร็วหากแช่ หรือ ยำลงไปในแหล่งน้ำที่สงสัยว่าอาจปนเปื้อนเชื้อ
ชื่อไฟล์ : 1sUhHeEMon103916.jpg
file_download
ดาวน์โหลดไฟล์นี้